รภคันแรก ภาษีรถยนต์ คิดอย่างไร ได้ลดภาษีเท่าไหร่


รู้ไหม ซี้อรถ 1 คันต้องจ่ายภาษีเท่าไหร่?


เคยสงสัยกันบ้างไหมว่า รถยนต์ที่เราซื้อไปแต่ละคันนั้น เราได้จ่ายภาษีต่างๆ ที่รวมอยู่ในราคารถยนต์
นั้นเป็นจำนวนเท่าไร เรามีข้อมูลการเก็บภาษีของภาครัฐที่จัดเก็บจากสินค้าประเภทรถยนต์มานำเสนอ
ซึ่งเมื่อดูแล้วจะทราบถึงสาเหตุที่เราต้องซื้อรถยนต์ที่ราคาสูงกว่าประเทศอื่นเขา
โครงสร้างการคิดภาษีรถยนต์ในประเทศไทยจะแบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้
เฟอรารี่ 612 สคาเลียตติ ในเมืองไทยราคาประมาณ 28 ล้านบาท ขณะที่ในอังกฤษราคา
ประมาณ 10 ล้านบาท

กรณีที่ 1 รถนำเข้าสำเร็จรูปจากต่างประเทศ
การคิดภาษีสำหรับรถนำเข้านั้น จะคิดจากราคา CIF (Cost + Insurance + Freight) ซึ่งก็คือ ราคา
ขายของรถ บวกด้วยค่าอากร ค่าประกันภัย และค่าขนส่งจากต่างประเทศ มาถึงที่ท่าเรื่อที่ประเทศไทย
ราคา CIF นี้จะถูกระบุไว้ในเอกสารการนำเข้า ในที่นี้สมมติให้ราคา CIF เท่ากับ 100 บาท ภาษีที่ต้อง
จ่ายจะประกอบไปด้วย

1. อากรขาเข้า ภาษีแรกที่ผู้นำเข้าต้องจ่าย ณ ท่าเรือก่อนนำรถออกจากท่าเรือเข้ามาในประเทศใน
อัตรา 80% ของราคา CIF ซึ่งเท่ากับ 80 บาท

2. ภาษีสรรพสามิต ซึ่งกรมศุลกากรจะทำการเก็บภาษีนี้ พร้อมกับอากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิตนี้จะถูก
เก็บในอัตราต่างกันตั้งแต่ 30-50% ขึ้นอยู่กับความจุกระบอกสูบ หรือขนาดเครื่องยนต์ (ดูตารางการ
คำนวณภาษีประกอบ) เช่น รถยนต์ขนาดไม่เกิน 2000 ซีซี ที่ถูกจัดเก็บในอัตรา 30%ของราคา CIF
รวมกับภาษีอากรขาเข้า โดยใช้สูตรการคำนวณการจัดเก็บที่เรียกว่า "ฝังใน"คือ
= ((100+80)x30%) / (1 - (1.1x30%))

3. ภาษีมหาดไทย ชื่อภาษีมีที่มาจากภาษีที่เก็บได้นี้ถูกนำไปบริหารประเทศโดยกระทรวงมหาดไทย
ซึ่งภาษีมหาดไทยจะคิดที่อัตรา 10% ของภาษีสรรพสามิต เพื่อส่งให้กระทรวงมหาดไทย
4. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตรา 7% ของราคา CIF + อากรขาเข้า + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีมหาดไทย
ซึ่งเมื่อรวมภาษีทั้ง 4 ชนิดเข้าด้วยกันแล้ว จากราคารถสมมุติที่ 100 บาทจะกลายเป็น 287.5-428.0
บาท(ขึ้นอยู่กับความจุกระบอกสูบ) ซึ่งมูลค่าดังกล่าวนี้ยังไม่รวมอัตรากำไร และค่าดำเนินการอื่นๆ ของ
บริษัทผู้จำหน่าย ฉะนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่เราจะเห็นรถราคา 1 ล้านในเมืองนอกมาขายที่บ้าน
เราในราคา 3-4 ล้านบาท เพราะภาระภาษีมันสูงเช่นนี้นี่เอง
ตัวอย่างเช่น
รถยนต์นำเข้าทั้งคัน ขนาดเครื่องยนต์ ความจุกระบอกสูบไม่เกิน 2,000 ซีซี*
ราคานำเข้า 100 อากรนำเข้า 80 ภาษีสรรพสามิต 30% = 80.60*** ภาษีมหาดไทย = 8.1
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 18.8 ราคารถรวมภาระภาษีทั้งหมาด 1+2+3+4+5 = 287.5
รถยนต์นำเข้าทั้งคัน ขนาดเครื่องยนต์ ความจุกระบอกสูบ2,000 ซีซี แต่ไม่เกิน 2,500 ซีซี*
ราคานำเข้า 100 อากรนำเข้า 80 ภาษีสรรพสามิต 35% = 102.44*** ภาษีมหาดไทย = 10.2
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 20.5 ราคารถรวมภาระภาษีทั้งหมาด 1+2+3+4+5 = 313.14
รถยนต์นำเข้าทั้งคัน ขนาดเครื่องยนต์ ความจุกระบอกสูบ 2,500 ซีซี แต่ไม่เกิน 3,000 ซีซี*
ราคานำเข้า 100 อากรนำเข้า 80 ภาษีสรรพสามิต 40% = 128.57*** ภาษีมหาดไทย = 12.9
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 22.5 ราคารถรวมภาระภาษีทั้งหมาด 1+2+3+4+5 = 343.97
รถยนต์นำเข้าทั้งคัน ขนาดเครื่องยนต์ ความจุกระบอกสูบเกิน 3,000 ซีซี**
ราคานำเข้า 100 อากรนำเข้า 80 ภาษีสรรพสามิต 50% = 200.00*** ภาษีมหาดไทย = 20.0
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 28.0 ราคารถรวมภาระภาษีทั้งหมาด 1+2+3+4+5 = 428.0
* และมีกำลังเครื่องยนต์ไม่เกิน 220 แรงม้า
** และมีกำลังเครื่องยนต์เกิน 220 แรงม้า
*** สูตรคำนวณการจัดเก็บแบบ ?ฝังใน?
โตโยต้า วีโก้ ราคา 861,000 บาท มูลค่าภาษีประมาณ 3-4 แสนบาท

กรณีที่ 2 รถที่ผลิตในประเทศไทย
ผู้ผลิตจะนำชิ้นส่วนรถยนต์เข้ามาจากต่างประเทศเป็นบางรายการ ซึ่งปริมาณและสัดส่วนการนำเข้า
มากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัทผู้ผลิต โดยรถแต่ละรุ่นภาระภาษีของผู้ผลิตจะมีความ
แตกต่างจากการนำเข้ารถทั้งคัน ดังนี้

1. อากรขาเข้า จะถูกจัดเก็บตามอัตราที่กรมศุลกากรกำหนด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิด หรือพิกัดของชิ้นส่วน
นั้น ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 30% ของราคา CIF ถ้าใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศทั้งหมดก็จะไม่เสียภาษี
ในส่วนนี้

2. ภาษีสรรพสามิต จะถูกจัดเก็บอัตราเดียวกับการนำเข้ารถทั้งคันจากต่างประเทศ โดยคำนวณจาก
ราคาหน้าโรงงาน และกรมสรรพสามิตจะพิจารณารับราคาหน้าโรงงานนี้ไม่ต่ำกว่า 76% ของราคาขาย
ปลีกที่ขายให้กับผู้บริโภค คือ ถ้าราคาขายปลีกอยู่ที่ 100 บาท (รถยนต์ไม่เกิน 2000 ซีซี) ก็จะใช้ราคา
หน้าโรงงานที่ 76 บาท มาคำนวณตามสูตร ?ฝังใน? เพื่อให้ได้ภาษีสรรพสามิต

3. ภาษีมหาดไทย คิดที่อัตรา 10% ของภาษีสรรพสามิต เพื่อส่งให้กระทรวงมหาดไทย

4. ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% กรมสรรพากรเป็น ผู้จัดเก็บ เหมือนกรณีที่ 1
สมมุติให้รถขนาดไม่เกิน 2,000 ซีซี ราคารถหน้าโรงงานอยู่ที่ 100 บาท ภาษีสรรพสามิตก็จะอยู่ที่
80.60 บาท บวกด้วยภาษีมหาดไทย 8.1 บาทและภาษีมูลค่าเพิ่ม 13.2 บาท ก็จะได้ราคาขายปลีก
เท่ากับ 201.9 บาท หรือถ้าคิดในมุมกลับภาษีรวมของรถที่ผลิตในประเทศจะมีมูลค่าประมาณ 40-70%
ของราคาขายปลีก ซึ่งจะขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องยนต์ ยิ่งปริมาตรกระบอกสูบมาก มูลค่าภาษีก็จะสูง
ตาม

ตัวอย่างเช่น ถ้าซื้อรถที่ผลิตในประเทศ เครื่องยนต์ 1800 ซีซี ในราคา 7 แสนบาท หมายความว่า เรา
ได้จ่ายภาษีให้รัฐประมาณ 2.8-3 แสนบาท
ในขณะที่ภาษีรวมของรถนำเข้าจะคิดจากราคาขายปลีกไม่ได้เพราะยังไม่ได้รวมกำไรและค่าดำเนินการ
ของผู้นำเข้า ฉะนั้นต้องคิดจากราคาทุน ซึ่งจะมูลค่าภาษีอยู่ที่ประมาณ 200-300 % ของราคาต้นทุน
ตัวอย่าง เช่น ถ้ารถราคา 1 ล้านบาทในต่างประเทศ เมื่อนำเข้ามาขายที่เมืองไทย ต้องเสียภาษีรวม
ประมาณ 2 ล้านบาท ดังนั้น ผู้นำเข้าจึงต้องขายที่ราคา 3 ล้านขึ้นไปเพราะต้นทุนภาระภาษีที่สูงนี่เอง
เพียงเท่านี้พอจะทำให้เข้าใจกันได้ว่า ทำไมเราถึงต้องซื้อรถที่แพงกว่าประเทศอื่นๆ อย่างมากมาย
แล้วภาษีทั้งหมดเป็นจำนวนเท่าไหร่?

ตัวเลขแท้จริงเราไม่อาจทราบได้ แต่เมื่อมองถึงมูลค่าตลาดรวมเฉพาะที่รถขายในประเทศ สมมุติ
ยอดขายรถทั้งปีที่ 600,000 คัน (ในความจริงขายมากกว่านี้) ทุกคันราคาคันละ 500,000 บาท (ห้า
แสนบาท ราคาสมมุติ) มูลค่าตลาดจะเท่ากับ 300,000,000,000 บาท (สามแสนล้านบาท ยอดสมมติ
แต่ยอดจริงมากกว่านี้) และคิดภาษีที่ยอดต่ำสุดที่ 40% ของราคาขายปลีกเท่ากับว่ารัฐจะได้ภาษีจาก
ประชาชนที่ซื้อรถไปทั้งสิ้น 120,000,000,000 บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นล้านบาท)

ขณะที่งบประมาณรายจ่ายประจำปี49อยู่ที่ 1.36 ล้านล้านบาทดังนั้นแล้วประมาณ 10% ของรายได้
ภาษีที่จะนำมาจ่ายในงบประมาณมาจากเงินที่ประชาชนซื้อรถ แล้วรัฐเอาเงินภาษีของเราไปทำอะไร
หว่า ประเทศถึงได้เจริญ ฮวบ ฮวบ อย่างนี้ ?
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อมูลบางส่วนจากวารสาร เชฟวี่ทอล์ค


ลดภาษีรถยนต์คันแรก มาทำความเข้าใจกันว่า คำนวณยังไง แล้วได้เท่าไหร่?

อ่านนโยบายกันก่อนนะครับ เพื่อความเข้าใจ (ถ้ากลัวเยอะ อ่านตรงที่ทำHighlight สีดำก็ได้ครับ)

สำหรับมาตรการภาษีรถยนต์คันแรกที่กระทรวงการคลังเสนอ มีรายละเอียดของการดำเนินการต่างๆดังนี้

          หลักเกณฑ์การคืนเงินสำหรับรถยนต์คันแรก

          1.เป็นรถยนต์คันแรกของผู้ซื้อที่ซื้อตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2554 จนถึงวันที่ 31 ธ.ค.2555

          2.เป็นรถยนต์ราคาขายปลีกไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อคัน

          3.เป็นรถยนต์นั่ง ขนาดความจุกระบอกสูบไม่เกิน 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร/รถกระบะ (Pick up)/รถยนต์นั่งกึ่งบรรทุก (Double Cab) === นั่นแสดงว่า รถกระบะ ไม่จำกัดCC. นะครับ แต่ อย่าเกิน 1ล้าน

          4.เป็นรถยนต์ที่ผลิตขึ้นในประเทศ ไม่รวมถึงรถยนต์ที่ประกอบจากชิ้นส่วนนำเข้าใช้แล้วจากต่างประเทศ (รถยนต์จดประกอบ) === ผลิตในประเทศ เท่านั้น

          5.คืนเงินเท่ากับค่าภาษีตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 1 แสนบาทต่อคัน

          6.ผู้ซื้อต้องมีอายุ 21 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป

          7.ผู้ซื้อต้องครอบครองรถยนต์ไม่น้อยกว่า 5 ปี === ไม่ว่าจะเป็นป๋าจ่ายสด จะดาว์นมาก ผ่อนน้อย หรือดาว์นน้อย ผ่อนยาวววววววว... ก็ต้อง"ครอบครองรถ" 5ปี ครับ

8.การคืนเงินจะคืนเมื่อครอบครองรถยนต์ 1 ปี  ไปแล้ว (เริ่มจ่ายคืนให้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2555 เป็นต้นไป) === โดยจะคืนในรูปแบบเช็ค

          แนวทางการดำเนินงาน

          1.ผู้ซื้อรถยนต์ดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2554 ถึงวันที่ 31 ธ.ค.2555 ต้องยื่นคำขอคืนเงินกับกรมสรรพสามิตหรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ พร้อมเอกสารหลักฐาน ดังนี้

          -หนังสือยินยอมสละสิทธิ์การโอนภายใน 5 ปี

          -สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้ซื้อ

          -สำเนาหนังสือสัญญาเช่าซื้อ (ในกรณีเช่าซื้อ)

          2.กรมสรรพสามิตหรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่มีหนังสือถึงกรมการขนส่งทาง บกหรือสำนักงานขนส่งจังหวัด เพื่อขอตรวจสอบการครอบครองรถยนต์คันแรก และแจ้งการสละสิทธิ์การโอนภายใน 5 ปีของผู้ซื้อ

          3.กรมการขนส่งทางบกหรือสำนักงานขนส่งจังหวัดตรวจสอบและบันทึก “ห้ามโอนภายใน 5 ปี” ลงในคอมพิวเตอร์และในสมุดคู่มือการจดทะเบียน

          4.กรมการขนส่งทางบกหรือสำนักงานขนส่งจังหวัดส่งหนังสือรับรองการครอบครอง รถยนต์คันแรก และสำเนาคู่มือการจดทะเบียนที่บันทึก “ห้ามโอนภายใน 5 ปี” ให้กรมสรรพสามิตหรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่

          5.กรมสรรพสามิตหรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่างๆ และสั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้ซื้อตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2555 เป็นต้นไป

          กระทรวงการคลังเสนอครม.อนุมัติและจัดสรรงบประมาณในปีงบประมาณ 2555 จำนวน 100 ล้านบาทเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ และเสนออนุมัติจัดสรรงบประมาณในปีงบประมาณ 2556 จำนวน 3 หมื่นล้านบาท เพื่อคืนเงินสำหรับรถยนต์คันแรกเท่ากับค่าภาษีตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินคันละ 1 แสนบาท

กระทรวงการคลังเสนอให้ครม.อนุมัติในหลักการให้หัวหน้าส่วนราชการกรมสรรพสามิต (อธิบดีกรมสรรพสามิต) หรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายมีอำนาจอนุมัติให้คืนเงินสำหรับรถยนต์คันแรกให้กับ ผู้ซื้อ และเสนอครม.มอบหมายให้กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคมให้ความร่วมมือกับกรมสรรพสามิตในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแสดง หลักฐานการครอบครองรถยนต์คันแรก การบันทึกข้อมูลห้ามจำหน่ายโอนรถยนต์ภายใน 5 ปี ตามมาตรการดังกล่าวของรัฐบาลต่อไป

บลา บลา บลา.... โอย เยอะ... มึน!   

เอาหละครับ เรามาดูวิธีคิดกันนะครับ ว่า เจ้า 100,000 บาทนี่ หักจากใหน ยังไง?

ก่อนอื่น ต้องเข้าใจก่อนนะครับว่า รถแต่ละประเภท เสียภาษีสรรพสามิตร กี่%บ้าง

1.EcoCar ทุกยี่ห้อ = 17%

2.รถเก๋งไม่เกิน 1500CC. ทุกยี่ห้อ + เติมE20ได้ = 25%

3.รถกระบะ ตอนเดียว - แค๊ป = 3%

4.รถกระบะ สี่ประตู = 12%



มาดูวิธีคิดกันครับ...

1. เอาราคารถมาตั้ง เช่น "ผมต้องการซื้อ Toyota Vios รุ่น J MT ราคาขาย ณ โชว์รูม 514,000 บาท"

2. หักภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% = เอา 514,000 - 7% จะเหลือ = 480,373.83 บาท

3.หักภาษีสรรพสามิตร ของToyota Vios ซึ่งอยู่ในกลุ่ม รถเก๋ง 1500CC. + เติมE20ได้ ก็คือ 25% = 480,373.83 บาท - 25% = 96,074.77 บาท


ส่วนลดที่ผมจะได้คืนมา หลังจากซื้อ Toyota Vios รุ่น J MT นี้ คือ 96,074.77 บาท

ถ้าคุณเป็นคนที่ไม่มี "เครดิต"แบบผม เงินสดอย่างเดียว(บัตรก็ไม่มี ทำงานบริษัท หรือราชการก็ไม่มี).... ตัวเลขข้างบนนี่แหละครับ คือส่วนลดที่คุณจะได้ ตรงๆเลย
หลังจากซื้อรถ 1ปี...


กระจ่างเลยใช่ใหมครับ...           บอกได้แค่ว่า ใครออกรถไม่เกิน 1500 CC. + E20 (Vios, Yaris, City, Jazz, 2 Hatchback&Sedan, Fiesta 1.4 Hatchback&Sedan, Aveo 1.4) ดูจะได้เปรียบมากที่สุด... เพราะคิดจากภาษีสรรพสามิตรแล้ว ได้ส่วนลดเยอะสุด..






ตอนนี้ที่น่ากังวลคือ สำหรับคนที่จะซื้อผ่อน ไฟแนนซ์จะเล่นซน อัดดอกเบี้ยเงินผ่อน ให้อ่วมอรทัยด้วยหรือเปล่านั้น... อืม น่าคิด

จาก http://board2.yimwhan.com/show.php?user=tairong&Cate=3&topic=4  

ความคิดเห็น