อากรแสตมป์ ซื้อที่ไหน

อากรแสตมป์ ซื้อที่ไหนบ้าง  

อากรแสตมป์ มี ขายที่ไหนบ้าง

1. สำนักงานสรรพากร ท้องที่ต่างๆ
2. หรือ หน่วยงานที่ใช้ต้องใช้ อากรแสตมป์อาจมีไว้บริการเพื่อความสะดวก
3. ร้าน เครื่องเขียน
4. ร้าน ค้าออนไลน์

แต่ ไปรษณีย์ไทย ไม่มีจำหน่ายน่ะครับ


*** อัพเดท เกี่ยวกับ
การใช้เงินสดแทน  อากรแสตมป์  21 กันยาน 2560
ตาม นโยบาย ไทยแลน 4.0
พาณิชย์ พลิกรูปแบบการใช้เงินแทนอากรแสตมป์ ในการจดทะเบียนออนไลน์  *****




บัญชีอัตราอากรแสตมป์
ข้อควรระวัง รายการเหล่านี้เป็นเพียงข้อสรุปเพื่อความเข้าใจเท่านั้น หากต้องการนำไปใช้งานกรุณาอ่านเพิ่มเติมในประมวลรัษฎากร
  1. เช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นหรือแพ ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาทแห่งค่าเช่า หรือเงินกินเปล่า หรือทั้ง2อย่างรวมกัน
    • ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
    • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ให้เช่า
    • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้เช่า
    • ข้อยกเว้น การเช่าทรัพย์สินที่ใช้ในการทำนา ไร่ สวน
  2. โอนใบหุ้น ใบหุ้นกู้ พันธบัตรและใบรับรองหนี้ ซึ่งบริษัท สมาคม คณะบุคคล หรือองค์กรใดๆ เป็นผู้ออก ให้คิดตามราคาหุ้นที่ชำระแล้วหรือตามราคาในตราสาร แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท
    • ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
    • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้โอน
    • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้รับโอน
    • ข้อยกเว้น
  3. เช่าซื้อทรัพย์สิน ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาทแห่งราคาทั้งหมด
    • ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
    • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ให้เช่า
    • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้เช่า
    • ข้อยกเว้น การเช่าซื้อทรัพย์สินที่ใช้ในการทำนา ไร่ สวน
  4. จ้างทำของ ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาทแห่งสินจ้างที่กำหนดไว้
    • ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
    • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้รับจ้าง
    • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้รับจ้าง
    • ข้อยกเว้น การเช่าซื้อทรัพย์สินที่ใช้ในการทำนา ไร่ สวน
  5. กู้ยืมเงินหรือการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร ทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาทแห่งยอดเงินให้กู้ยืม หรือตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชี โดยมีจำนวนเงินสูงสุดที่ต้องเสียอยู่ที่ 10,000 บาท
    • ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
    • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ให้กู้
    • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้กู้
    • ข้อยกเว้น การกู้ยืมเงินซึ่งสมาชิกกู้ยืมเงินจากสหกรณ์, สหกรณ์กู้ยืม หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
  6. กรมธรรม์ประกันภัย โดยแยกเป็น
    1. กรมธรรม์ประกันวินาศภัย ทุกจำนวนเงิน 250 บาท หรือเศษของ 250 บาทแห่งเบี้ยประกันภัย
      • ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้รับประกันภัย
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้รับประกันภัย
    2. กรมธรรม์ประกันชีวิต ทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาทแห่งจำนวนเงินที่เอาประกันภัย ซึ่งเป็นเงินค่าอากรแสตมป์ไม่เกิน 20 บาท
      • ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้รับประกันภัย
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้รับประกันภัย
    3. กรมธรรม์ประกันภัยอื่นๆ ทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาทแห่งจำนวนเงินที่เอาประกันภัย
      • ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้รับประกันภัย
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้รับประกันภัย
    4. กรมธรรม์เงินปี ทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาทแห่งต้นทุนเงินปีนั้น ถ้าไม่มีต้นทุนเงินปีให้คิดทุก 2,000 บาทหรือเศษของ 2,000 บาทแห่ง 33 1/3เท่าของรายได้ประจำปี
      • ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้รับประกันภัย
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้รับประกันภัย
    5. กรมธรรม์ประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยนำไปให้ผู้อื่นประกันอีกต่อหนึ่ง
      • ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้รับประกันภัย
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้รับประกันภัย
    6. บันทึกการต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัยเดิม
      • ค่าอากรแสตมป์ ครึ่งหนึ่งของอัตราเดิม
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้รับประกันภัย
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้รับประกันภัย
    • ข้อยกเว้น
    1. การประกันภัยสัตว์พาหนะ ซึ่งใช้ในการเกษตรกรรม
    2. บันทึกการประกันภัย หรือกรมธรรม์ประกันภัยชั่วคราว ซึ่งจะมีการออกตัวจริงต่อมา
  7. ใบมอบอำนาจ แบ่งเป็น
    1. มอบอำนาจให้บุคคลเดียว หรือหลายคน กระทำการครั้งเดียว
      • ค่าอากรแสตมป์ 10 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้มอบอำนาจ
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้รับมอบอำนาจ
    2. มอบอำนาจให้บุคคลเดียว หรือหลายคน ร่วมกันกระทำการมากกว่าครั้งเดียว
      • ค่าอากรแสตมป์ 30 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้มอบอำนาจ
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้รับมอบอำนาจ
    3. มอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยให้บุคคลหลายคนกระทำแยกกันได้ ให้คิดเป็นรายตัวบุคคล
      • ค่าอากรแสตมป์ 30 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้มอบอำนาจ
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้รับมอบอำนาจ
    • ข้อยกเว้น
    1. ใบแต่งตั้งทนาย และใบมอบอำนาจให้ทนายความเพื่อเป็นตัวแทนดำเนินคดีในศาล
    2. ใบมอบอำนาจให้โอน หรือให้กระทำการใดๆที่เกี่ยวกับสัตว์พาหนะ
    3. ใบมอบอำนาจให้รับเงิน หรือสิ่งของตอบแทน
    4. ใบมอบอำนาจซึ่งสหกรณ์เป็นผู้มอบ และใบมอบอำนาจตั้งสหกรณ์เป็นตัวแทนจัดการให้ สหกรณ์ได้รับสิทธิในอสังหาริมทรัพย์
  8. ใบมอบฉันทะสำหรับให้ลงมติประชุมของบริษัท แบ่งเป็น
    1. มอบฉันทะสำหรับการประชุมครั้งเดียว
      • ค่าอากรแสตมป์ 20 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้มอบฉันทะ
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้มอบฉันทะ
    2. มอบฉันทะสำหรับการประชุมมากกว่าครั้งเดียว
      • ค่าอากรแสตมป์ 100 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้มอบฉันทะ
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้มอบฉันทะ
  9. ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตราสารทำนองเดียวกัน แบ่งเป็น
    1. ตั๋วแลกเงิน หรือตราสารทำนองเดียวกันที่ใช้อย่างตั๋วแลกเงิน ฉบับละ
      • ค่าอากรแสตมป์ 3 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้สั่งจ่าย
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้สั่งจ่าย
    2. ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตราสารทำนองเดียวกันที่ใช้อย่างตั๋วสัญญาใช้เงิน ฉบับละ
      • ค่าอากรแสตมป์ 3 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ออกตั๋ว
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ออกตั๋ว
  10. บิลออฟเลดิง
    • ค่าอากรแสตมป์ 2 บาท
    • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้กระทำตราสาร
    • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้กระทำตราสาร
  11. ตราสารทางธุรกิจ แยกเป็น
    1. ใบหุ้น หรือใบหุ้นกู้ หรือใบรับรองหนี้ของบริษัท สมาคม คณะบุคคล หรือองค์การใดๆ
      • ค่าอากรแสตมป์ 5 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ทรงตราสาร
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ทรงตราสาร
    2. พันธบัตรของรัฐบาลใดๆ ที่ขายในประเทศไทย
      • ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ทรงตราสาร
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ทรงตราสาร
    • ข้อยกเว้น ตราสารของสหกรณ์
  12. เช็ค หรือหนังสือคำสั่งใดๆ ซึ่งใช้แทนเช็ค
    • ค่าอากรแสตมป์ 3 บาท
    • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้สั่งจ่าย
    • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้สั่งจ่าย
  13. ใบรับฝากเงินประเภทประจำของธนาคารโดยมีดอกเบี้ย
    • ค่าอากรแสตมป์ 5 บาท
    • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้รับฝาก
    • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้รับฝาก
  14. เลตเตอร์ออฟเครดิต แยกตามสถานที่ออกเป็น
    1. ออกในประเทศไทย ซึ่งแยกตามจำนวนเงินเป็น
      1. เงินต่ำกว่า 10,000 บาท
        • ค่าอากรแสตมป์ 20 บาท
        • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ออกตราสาร
        • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ออกตราสาร
      2. เงินตั้งแต่ 10,000 บาท ขึ้นไป
        • ค่าอากรแสตมป์ 30 บาท
        • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ออกตราสาร
        • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ออกตราสาร
    2. ออกในต่างประเทศ และให้ชำระเงินในประเทศไทย คราวละ
      • ค่าอากรแสตมป์ 20 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ทรงตราสารคนแรกในประเทศไทย
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ทรงตราสารคนแรกในประเทศไทย
  15. เช็คเดินทาง
    1. ออกในประเทศไทย ฉบับละ
      • ค่าอากรแสตมป์ 3 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ออกเช็ค
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ออกเช็ค
    2. ออกในต่างประเทศ แต่ให้ชำระในประเทศไทย ฉบับละ
      • ค่าอากรแสตมป์ 3 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ทรงคนแรกในประเทศไทย
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ทรงคนแรกในประเทศไทย
  16. บรับของ ซึ่งออกให้จากกิจการรับขนส่งสินค้า
    • ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
    • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ออกใบรับ
    • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ออกใบรับ
  17. ค้ำประกัน แยกตามจำนวนเงินเป็น
    1. สำหรับกรณีที่ไม่จำกัดจำนวนเงินไว้
      • ค่าอากรแสตมป์ 10 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ค้ำประกัน
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ค้ำประกัน
    2. สำหรับจำนวนเงินไม่เกิน 1,000 บาท
      • ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ค้ำประกัน
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ค้ำประกัน
    3. สำหรับจำนวนเงินที่เกิน 1,000 บาทแต่ไม่เกิน 10,000 บาท
      • ค่าอากรแสตมป์ 5 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ค้ำประกัน
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ค้ำประกัน
    4. สำหรับจำนวนเงินเกิน 10,000 บาท ขึ้นไป
      • ค่าอากรแสตมป์ 10 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ค้ำประกัน
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ค้ำประกัน
    • ข้อยกเว้น
    1. ค้ำประกันหนี้จากการที่รัฐบาลให้ราษฎรกู้ยืมเพื่อการบริโภค หรือการเกษตรกรรม
    2. ค้ำประกันหนี้จากสหกรณ์ ที่ให้สมาชิกกู้ยืม
  18. จำนำ แยกตามจำนวนหนี้เป็น
    1. จำนวนหนี้ทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท
      • ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้รับจำนำ
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้รับจำนำ
    2. ไม่จำกัดจำนวนหนี้ไว้
      • ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้รับจำนำ
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้รับจำนำ
    • ข้อยกเว้น
    1. ตั๋วจำนำของโรงจำนำที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
    2. จำนำอันเกี่ยวกับการกู้ยืม ซึ่งได้ปิดแสตมป์ครบตามข้อ 5 แล้ว
  19. ใบรับของคลังสินค้า
    • ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
    • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ นายคลังสินค้า
    • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ นายคลังสินค้า
  20. คำสั่งให้ส่งมอบของ
    • ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
    • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ออกคำสั่ง
    • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ออกคำสั่ง
  21. ตัวแทน แยกเป็น
    1. มอบอำนาจเฉพาะการ
      • ค่าอากรแสตมป์ 10 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ตัวการ
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ตัวการ
    2. มอบอำนาจทั่วไป
      • ค่าอากรแสตมป์ 30 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ตัวการ
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ตัวการ
    • ข้อยกเว้น การตั้งตัวแทนจากสหกรณ์
  22. คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ แยกตามจำนวนเงินเป็น
    1. ในกรณีพิพาทกันด้วยจำนวนเงิน หรือราคาทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท
      • ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ อนุญาโตตุลาการ
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ อนุญาโตตุลาการ
    2. ในกรณีซึ่งไม่ระบุจำนวนเงิน
      • ค่าอากรแสตมป์ 10 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ อนุญาโตตุลาการ
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ อนุญาโตตุลาการ
  23. คู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสาร แยกเป็น
    1. ต้นฉบับเสียอากรไม่เกิน 5 บาท
      • ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ
      1. ถ้าไม่มีคู่สัญญา ให้ผู้ที่เสียอากรสำหรับต้นฉบับ
      2. ถ้ามีคู่สัญญา ให้เป็นคู่สัญญา
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ที่ขีดฆ่าต้นฉบับ
    2. ต้นฉบับเสียอากรเกิน 5 บาท
      • ค่าอากรแสตมป์ 5 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ
      1. ถ้าไม่มีคู่สัญญา ให้ผู้ที่เสียอากรสำหรับต้นฉบับ
      2. ถ้ามีคู่สัญญา ให้เป็นคู่สัญญา
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ที่ขีดฆ่าต้นฉบับ
    • ข้อยกเว้น ถ้าฝ่ายที่ต้องเสียอากรเป็นสหกรณ์
  24. หนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทจำกัด ที่ส่งต่อนายทะเบียน
    • ค่าอากรแสตมป์ 200 บาท
    • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้เริ่มก่อการ
    • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้เริ่มก่อการ
  25. ข้อบังคับของบริษัทจำกัด ที่ส่งต่อนายทะเบียน
    • ค่าอากรแสตมป์ 200 บาท
    • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ กรรมการ
    • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ กรรมการ
  26. ข้อบังคับใหม่ หรือสำเนาหนังสือบริคณห์สนธิหรือข้อบังคับที่เปลี่ยนแปลง ที่ส่งต่อนายทะเบียน
    • ค่าอากรแสตมป์ 50 บาท
    • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ กรรมการ
    • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ กรรมการ
  27. หนังสือสัญญาห้างหุ้นส่วน แยกเป็น
    1. หนังสือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
      • ค่าอากรแสตมป์ 100 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้เป็นหุ้นส่วน
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้เป็นหุ้นส่วน
    2. หนังสือสัญญาที่แก้ไขสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
      • ค่าอากรแสตมป์ 50 บาท
      • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้เป็นหุ้นส่วน
      • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้เป็นหุ้นส่วน
  28. ใบรับ เฉพาะตามที่ระบุต่อไปนี้
    1. ใบรับรางวัลสลากกินแบ่งของรัฐบาล
    2. ใบรับสำหรับการโอน หรือก่อตั้งสิทธิใดๆเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งต้องมีการจดทะเบียนตามกฎหมาย
    3. ใบรับสำหรับการขาย ขายฝาก ให้เช่าซื้อ หรือโอนกรรมสิทธิ์ยานพาหนะ ทั้งนี้เฉพาะยานพาหนะที่ต้องมีการจดทะเบียน
    • ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
    • ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ออกใบรับ
    • ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ออกใบรับ
    • ข้อยกเว้น ใบรับสำหรับรายรับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ