เลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกา 2012 โอบาม่า หรือ รอมนี่ย์

คะแนนนิยม ระหว่าง โอบาม่า และ รอมนี่ย์


การเมืองอเมริกา  เขามีฝ่ายค้านหรือไม่   เมื่อเลือกตั้งจบ เขาทำงานกันอย่างไร

การเลือกตั้งใหญ่ทุกๆ 4 ปี  ระหว่าง 2 พรรคใหญ่  รีพับลิกัล  และ  เดโมแครต

ภาพใหญ่เป็นการตระเวณหาเสียง ของตัวแทนพรรคที่ได้แข่งขันกันภายในเพื่อเป็นขึ้นแข่งขันเป็นประธานาธิบดี สหรัฐอเมริกา  

เป็นภาพการโต้วาที  แสดงวิสัยทัศน์  ต่อกันในพื้นที่ต่างๆ  ทั่วประเทศ   โดยมีโพลสำรวจตลอดเวลาถึงคะแนนนิยม  ระหว่างผู้ได้รับการเสนอตัวทั้ง 2 พรรค

การเมืองอเมริกา  เป็นอย่างไร   มีระบบโครงสร้างอย่างไร  


การเมืองการปกครอง รัฐบาลและการเลือกตั้ง ของสหรัฐอเมริกา

มีรูปแบบการปกครองแบบสหพันธรัฐ (Federal Republic) แบ่งอำนาจออกเป็น 3 ฝ่าย 
ภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ แต่ละฝ่ายได้รับเลือกในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป จึงมีการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน (checks and balances) 
ประกอบด้วยพรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรค คือ พรรครีพับลิกัน (Republican) และพรรคเดโมแครต (Democrat) ดังนี้
ฝ่ายบริหาร มีประธานาธิบดี (President) เป็นประมุขและเป็นหัวหน้ารัฐบาล (Chief of Executive) 
ได้รับเลือกจากการเลือกตั้งทั่วไป ร่วมกับรองประธานาธิบดีทุก 4 ปี ในวันอังคารแรกหลังวันจันทร์แรกของเดือนพฤศจิกายน 
ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งผ่านคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral College) จำนวน 538 คน ดำรงตำแหน่งไม่เกิน 2 สมัย สมัยละ 4 ปี 
ประธานาธิบดีจะเป็นผู้ร่างรัฐบัญญัติต่อรัฐสภา และทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้ทำสนธิสัญญาต่าง ๆ ตลอดจนแต่งตั้งผู้พิพากษาเอกอัครราชทูตและตำแหน่งต่าง ๆ ของฝ่ายบริหารตั้งแต่ระดับรองผู้ช่วยรัฐมนตรี (Deputy Assistant Secretary) ขึ้นไป
ฝ่ายนิติบัญญัติ ประกอบด้วย 2 สภา คือ
  1. วุฒิสภา มีสมาชิกจากแต่ละรัฐ รัฐละ 2 คน รวมเป็น 100 คน ดำรงตำแหน่งสมัยละ 6 ปี โดยสมาชิกจำนวน 1 ใน 3 ครบวาระทุก 2 ปี วุฒิสภามีอำนาจให้ความเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบต่อบุคคลที่ประธานาธิบดีเสนอขอแต่งตั้ง รวมทั้งคณะรัฐมนตรี และให้สัตยาบันสนธิสัญญา รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นผู้ดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภาโดยตำแหน่ง (President of the Senate)
  2. สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิก 435 คน แบ่งตามสัดส่วนของประชากรในรัฐ คือ ประชากร 575,000 คน ต่อ สมาชิก 1 คน ดำรงตำแหน่งสมัยละ 2 ปี ประธานสภา (Speaker of the House)
ฝ่ายตุลาการ ประกอบด้วย ศาลชั้นต้น (Curcuit Court) ศาลอุทธรณ์ (Appeal Court) และศาลฎีกา (Supreme Court) ศาลฎีกามีอำนาจที่จะล้มเลิกกฎหมายใด ๆ และการปฏิบัติการของฝ่ายบริหารที่ได้วินิจฉัยแล้วว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ ในการแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลฎีกานั้น ประธานาธิบดีเป็นผู้เสนอชื่อและวุฒิสภาเป็นผู้ให้การรับรอง โดยศาลสูงของสหพันธ์มีผู้พิพากษาทั้งหมด 9 คน ซึ่งตำรงตำแหน่งได้โดยไม่มีการกำหนดวาระ
สิทธิในการเลือกตั้ง : อายุ 18 ปีขึ้นไป

จุดสำคัญในการเมืองอเมริกา คือ

" วันเลือกตั้งประธานาธิบดีกำหนดไว้ชัดเจน ว่าให้มีขึ้นในวันอังคารแรกหลังวันจันทร์แรกของเดือนพฤษจิกายน"
  การเลือกตั้่ง กำหนดวันไว้ชัดเจนในรัฐธรรมนูญ  ไม่ต้องให้ใครกำหนดอีก  กระทำในวันทำงาน ไม่ใช่วันหยุด  ผมมองในจุดนี้ว่าเป็นการให้ความสำคัญต่อการเลือกตั้งประธานาธิบดี  กระทำในวันทำงาน  เป็นการเลือกตั้งผ่านทางอ้อมคณะผู้เลือกตั้ง จำนวน 538 คน ดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 สมัย  ตามรัฐธรรมนูญแก้ไขครั้่งที่ 22 บัญญิติไว้

แล้วคณะผู้เลือกตั้ง หรือ Electoral college  หมายถึงคณะใด?


ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา (อังกฤษPresident of the United States หรืออาจย่อได้เป็น POTUS) เป็นตำแหน่งประมุขในการปกครองของสหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดีเป็นหัวหน้าของทุกสาขาของรัฐบาลแห่งสหพันธรัฐ โดยมีหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญที่เขียนโดยสภาคองเกรส มาตราที่ 2 ของรัฐธรรมนูญนั้นบัญญัติว่าประธานาธิบดีต้องเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองกำลังทหารและกระจายอำนาจที่เป็นของประธานาธิบดีออกไป รวมไปถึงอำนาจเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างกฎหมายที่ผ่านมาจากสภาคองเกรสนอกจากนั้น ประธานาธิบดียังมีอำนาจในการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีเพื่อเป็นที่ปรึกษาและอำนาจในการลดโทษหรือให้รอลงอาญาได้ ท้ายที่สุดแล้ว หากประธานาธิบดีได้รับคำแนะนำและการยอมรับจากวุฒิสภาแล้วจะมีอำนาจในการทำสนธิสัญญา, แต่งตั้งเอกอัครราชทูตและศาลตัดสินของประเทศ รวมไปถึงศาลสูงสุดด้วย
ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกานั้นมาจากการเลือกตั้งโดยอ้อมผ่านทางคณะผู้เลือกตั้งแห่งสหรัฐ (United States Electoral College) มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 4 ปีและสามารถอยู่ในดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระซึ่งบัญญัติไว้ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 22 ที่ได้รับการอนุมัติในปี ค.ศ. 1951
ภายใต้ระบบนี้ แต่ละรัฐจะได้รับการแบ่งสรรให้มีจำนวนคะแนนเสียงโหวต (Electoral Vote) ที่แตกต่างกัน โดยจะเท่ากับจำนวนที่นั่งในสภาคองเกรสทั้งสอง โดยกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.ก็ต้องลงคะแนนเสียงด้วยตามที่บัญญัติไว้ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 23 ผู้ลงคะแนนเสียงในเกือบทุกรัฐจะต้องเลือกผู้สมัครประธานาธิบดีผ่านระบบเสียงข้างมาก นั่นคือ ผู้สมัครคนใดได้รับการโหวตมากที่สุดก็จะได้เสียงโหวต (Electoral Vote) ของรัฐนั้นไป จำนวนเสียงโหวต (Electoral Vote) ที่มากที่สุดจะเป็นการตัดสินว่าใครจะได้เป็นประธานาธิบดี แต่ถ้าไม่มีผู้สมัครคนใดได้คะแนนเสียงเกินกว่าขีดต่ำสุดที่กำหนดไว้ การเลือกตั้งก็จะไปอยู่ที่การพิจารณาของสภาตัวแทน (House of Representatives) ที่โหวตมาโดยตัวแทนแต่ละรัฐ โดยที่ผ่านมามีประธานาธิบดีเพียง 4 คนที่ดำรงตำแหน่งครบสองสมัยถ้วน คือ ดไวท์ ดี. ไอเซนฮาวร์โรนัลด์ เรแกนบิล คลินตัน และจอร์จ ดับเบิลยู. บุช
สำนักงานของประธานาธิบดีเรียกว่าทำเนียบขาว (White House) ที่เมืองวอชิงตัน ดี.ซี. และยังเป็นที่อยู่อาศัยของประธานาธิบดีได้อีกด้วย นอกจากนั้น ประธานาธิบดียังได้รับสิทธิ์ในการใช้คณะทำงานและสิ่งอำนวยความสะดวกในทำเนียบขาวอย่างเต็มที่ รวมไปถึงการดูแลทางด้านการแพทย์ การพักผ่อน การดูแบบบ้านและระบบรักษาความปลอดภัย มีเครื่องบิน Boeing VC-25 จำนวนหนึ่งลำ(จากสองลำ)ไว้สำหรับการเดินทางระยะไกลของประธานาธิบดี ซึ่งเป็นเครื่องบินเวอร์ชันที่ดัดแปลงอย่างหรูหราของ Boeing 747-200B เรียกว่า แอร์ฟอร์ซวัน ประธานาธิบดียังได้รับค่าตอบแทนทั้งสิ้น 400,000 ดอลลาร์สหรัฐ พร้อมด้วยผลประโยชน์อื่นๆในทุกๆปีของการดำรงตำแหน่งอีกด้วย
เนื่องด้วยความเป็นมหาอำนาจของสหรัฐอเมริกา ตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาจึงเปรียบเสมือนบุคคลที่ทรงอำนาจที่สุดในโลก ประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือ บารัก โอบามา เป็นผู้ได้รับเลือกคนล่าสุดโดยเริ่มดำรงตำแหน่งวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 2009

คณะผู้เลือกตั้งแห่งสหรัฐ ก็คือ ประชาชนในแต่ละรัฐออกเสียงโหวต นั้นเอง แต่ละรัฐจะมีจำนวนสัดส่วนที่ต่างกัน รวมกันแล้วเท่ากับจำนวนที่นั่นในสภาคอนเกรสทั้งสอง  คือ 538

" แล้วออกเสียงโหวตอย่างไร  ยกตัวอย่าง รัฐอลาสกา มีคะแนนคณะผู้เลือกตั้ง 50 เสียง  มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 500,000 คน  
หาก รอมนี่ย์  สามารถชนะโหวตที่นี่ ได้ เท่ากับ  300,000 ต่อ 150,000  
รอมนี่ย์ จะได้ คะแนนคณะผู้เลือกตั้งรัฐอลาสกาไปทั้งหมด 50 เสียง  โอบามาจะไม่ได้คะแนนเสียงเลย  
นี่เป็นหลักเสียงข้างมาก   แต่หากมีผู้ไปออกเสียงโหวตน้อยกว่าขั้นต่ำกำหนด จะต้องให้สภาตัวแทนพิจารณาในลำดับต่อไปว่าจะทำไงกันต่อ  จะแพ้กันเพียงเสียงเดียว ก็ต้องเสียคะแนนคณะผู้เลือกตั้งทั้งรัฐให้ผู้ชนะ "   
หลักการแบบนี้ ทำให้เมื่อจบการเลือกตั้งในแต่ละรัฐ ประชาชน ต่างเป็นที่เข้าใจว่า จะมีเพียงผู้ชนะและผู้แพ้ 100 % 

ใครจะได้เป็นประธานาธิบดี สหรัฐอเมริกาคนต่อไป ก็ตาม 

  การบริหารก็ดำเนินไปตามกรอบของระเบียบของประเทศอเมริกาเพื่อประเทศและประชาชน

  ประเทศที่รวบรวมคนจากทั้งโลกร่วมกันสร้างประเทศโดยพื้นฐานจากคนยุโรปอบพยบ  

จนเป็นประเทศที่มีการพัฒนาล้ำยุคที่สุดในโลกในปัจจุบัน  

ที่ต้องศึกษานำมาประยุกต์ใช้แก้ปัญหา




ความคิดเห็น