ไทยรบพม่า , พม่ารบไทย ในอดีต เราควรใช้สิงใดเป็นบทเรียน

ตั้งแต่สมัยโบราณกาลนานมาแล้ว ครั้งแผ่นดินสุวรรณภูมิ มีการตั้งถิ่นฐาน สร้างบ้างแปลงเมือง  ในลุ่มน้ำต่างๆ  และได้ทำสงครามขยายอาณาเขตและแสดงความแข็งขันในการปกป้องการรุกราน ต่อกัน   ผลัดกันรุกรานตามแต่ความสามารถในการปกครองของผู้นำในแต่ละสมัย


สงครามระหว่างชาวไทยกับพม่ารามัญ  ดำเนินต่อไปด้วยระยะเวลายาวนานตั้งแต่ มีบันทึกในพงศาวดารของทั้งฝ่ายไทยแลพม่ารามัญ ในช่วงแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา ถึงต้นรัตนโกสินท์ เป็นเวลา ตั้งแต่ราวปี พศ 2081 ถึง 2360   ร่วม 300 ปี  และยังคงมีปะปรายตามแนวชายแดน จนถึงปัจจุบัน


ทั้งสองแผ่นดินมีความเหมือนอยู่ประการหนึ่งคือ การแย่งชิงอำนาจ นัยว่าการสงครามทำให้บ้านเมืองเดือดร้อนข้างหนึ่ง แต่ อีกด้านหนึ่งทำให้เกิดความรักสามัคคีกลมเกลียวกัน  เมื่อใดแผ่นดินร่มเย็นเป็นเวลายาวนาน  ก็จะเกิดการแย่งชิงอำนาจแตกความสามัคคีภายใน


ในดินแดนพม่ารามัญ มีหลายเมือง ไม่ว่าจะเป็น  ตองอู  หงสาวดี  แปร     อังวะ   เมืองใหญ่ๆมักจะแข็งเมืองต่อเมืองแม่ คือ หงสาวดี ผัดเปลี่ยนกันไปแล้วแต่สมัยใด หงสาวดีมีเจ้าผู้ครองที่มีความสามารถเป็นที่ยำเกรง


ในดินแดนไทย กรุงศรีอยุธยา และหัวเมืองฝ่ายเหนือ เป็นเมืองสำคัญ ของอาณาจักรในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ไม่ว่าจะเป็นพิษณุโลก  กำแพงเพชร    และเชียงใหม่ดินแดนน่างไกลทางเหนือ  โดยในส่วนนี้กรุศรีอยุธยา มีฐานะเป็นเมืองแม่มาอย่างยาวนาน นัยว่ามีความเจริญมากในเวลานั้น


พม่านัยว่าเพื่อเป็นการปราม หัวเมืองต่างๆในอาณาจักรพม่ารามัญ เมื่อได้รวบรวมอาณาจักรแล้วจะต้องยกทัพมารุกรายไทย อยู่เป็นประจำตลอด กว่า 300 ปี และสามารถ ยึดไทยได้ รวม 2 ครั้ง

ไทยเองก็มีความสามารถในการยกทัพรุกราน พม่ารามัญ และสามารถขับไล่พม่าจนต้องหนี้ทิ้งเมืองหงสาวดีได้ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช    และยังยกทัพไปตีหัวเมืองชั้นในของพม่ารามัญแต่ทรงสวรรณคตระหว่างการเดินทัพเสียก่อน

กาลเวลาผ่านไป ฟากฝั่งพม่ารามัญสูญสิ้นราชวงค์ด้วยการพ่ายแพ้ฝรั่ง ตกเป็นเมืองขึ้นฝรั่ง ผ่านการปกครองการต่อสู้เพื่อเอกราช เป็นเวลายาวนาน แต่ผ่านการต่อรู้เพื่อรวบรวมชาติ จากหัวเมืองต่างๆเฉกเช่นในอดีต จนถึงปัจจุบัน พม่ารามัญใช้เวลาอีกราว 200 กว่าปี ในการมาเริ่มต้นใหม่ในการพัฒนาอาณาจักรตนเอง

กาลเวลาผ่านไป ฟากฝั่งไทยยงคงมีราชวงค์คู่แผ่นดินมาถึงปัจจุบันบ้านเมืองพัฒนาไปไกลมากในช่วง 200 กว่าปีแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงสำหรับแผ่นดินพม่ารามัญ แต่ในช่วงนี้ถือว่าเป็นความเปราะบางที่เคยเกิดขึ้นในสมัยเรืองอำนาจของไทยเฉกเช่นในอดีต ได้เกิดขึ้นอีกครั้ง

พม่าเจราจาสงบศึกภายในด้วยมุ่งหวังรักษาแผ่นดิน รักษาชาติพันธ์พม่า และชนเผ่าหัวเมืองต่างๆ เปิดประเทศรับการลงทุนจากต่างชาติ ด้วยความรับผิดชอบของผู้บริหารประเทศ ที่สะท้อนออกมา นับเป็นนิมิตหมายที่ดีสำหรับประชาชนพม่ารามัญในวันข้างหน้า

ไทยเกิดความแตกแยกรุนแรงในชาติเป็นเป็นฝ่ายเขมรรุกราน ชาดแดนใต้ไร้ความสงบสุขทุกร้อนแสนสาหัส  เหนืออิสานประชาชนแข็งขื่น  เกิดความแตกสามัคคีขั้นรุนแรง  หากเป็นเฉกเช่นก่อนเห็นทีจะไม่รอดพ้นการเสียกรุงครั้งที่ 3 ต่อพม่ารามัญเป็นแน่  แต่ครั้งนี้ เขมรทางตะวันออก ได้แสดงบทบาทนั้นแทน  ข่มขู่ไทยในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา



กาลในบัดนี้สภาพของแผ่นดินไทยถึงคราอ่อนแออีกครั้ง ได้ถูกทำลายพื้นฐานสำคัญๆที่ประเทศชาติควรมีลงไปเป็นอันมาก  ทั้งความสามัคคีของประชาชนในชาติ   ทั้งความเกรียกไกรของสถาบันสำคัญของชาติ ทั้งความศัทราในการศาสนา  ทั้งความแข็งเกร่งของฝ่ายกลาโหม  ทั้งความหวังพึ่งได้ของฝ่ายมหาดไทย  ต่างทูจริตกอบโกยจนลืมหน้าที่ไร้ความรับผิดชอบ   เปรียบดั่งแผ่นดินไร้กฎ ปล้นชิงดั่งโจรป่า  หากล้าของเหล่าเสนาบดีไม่ได้  ออกญาจักกรีเต็มบ้านล้นเมือง

ยังมองไม่เห็นความเป็นปึกแผ่นจะกลับคืนมาได้เช่นไร   แผ่นดินจะรักษาไว้ได้อย่างไรเล่า  ย่อมไม่ต่างกับอดีตที่ผ่านมา   และยุคสมัยเปลี่ยนไป     แต่สิ่งที่ไม่เปลี่ยนและเรายังไม่เคยเรียนรู้ และแก้ไขให้เป็นสามัญสำนึกของคนในแผ่นดินคือการรู้รักษาความสามัคคีด้วยการมีวินัยของนักปกครอง เป็นนักปกครองและสร้างนักปกครองที่ดีขึ้นบริหารประเทศ


สิ่งที่เราละเลยไม่เรียนรู้ไม่แก้ไข  เพื่อไม่ให้อดีตอันข่มขืนย้อนกลับมาอีกครั้ง  หรือเราจะเป็นชาติล้าหลังที่สุดในดินแดนนี้ ด้วยเหตุแห่งความแตกแยกแย่งชิงอำนาจกันเองหรือ   





ความคิดเห็น