จาก http://hilight.kapook.com/view/70066
ภูเก็ตแผ่นดินไหวอีก! 3.2 ริกเตอร์ รับรู้แรงสั่นหลายจุด
ภูเก็ตแผ่นดินไหว!อีก3.2ริกเตอร์รับรู้แรงสั่นหลายจุด (ไอเอ็นเอ็น)
สำนัก เฝ้าระวังแผ่นดินไหว รายงาน เกิดแผ่นดินไหวที่ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต อีก 3.2 ริเตอร์ เมื่อเวลา 02.43 น.ประชาชนในพื้นที่รับรู้ถึงการสั่นไหวได้ในหลายพื้นที่
เมื่อเวลา 02.43 น. วันที่ 20 เมษายน 2555 สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานการเกิดแผ่นดินไหว ที่ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต อีกครั้งโดยล่าสุด เกิดขึ้นเมื่อเวลา 02.43 น. สามารถตรวจวัดขนาดความแรงการสั่นไหวได้ 3.2 ริกเตอร์ ประชาชนในพื้นที่รับรู้ถึงการสั่นไหวได้ในหลายพื้นที่ของอำเภอ โดยตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2555 ที่ผ่านมา จนถึงวันที่ 20 เมษายน เกิดเหตุแผ่นดินไหวที่ จ.ภูเก็ตแล้ว 22 ครั้ง ดังนี้
วันที่ 16 เมษายน เกิดขึ้น 6 ครั้ง ครั้งแรกที่ ต.ศรีสุนทร อ.ถลาง วัดขนาดความแรงได้ถึง 4.3 ริกเตอร์
วันที่ 17 เมษายน เกิดแผ่นดินไหวที่ อ.ถลาง 5 ครั้ง วัดความสั่นสะเทือนสูงสุดของวันได้ที่ 3.1 ริกเตอร์
วันที่ 18 เมษายน เกิดแผ่นดินไหวที่ อ.ถลาง 7 ครั้ง วัดความสั่นสะเทือนสูงสุดของวันได้ที่ 3.2 ริกเตอร์
วันที่ 19 เมษายน เกิดเหตุแผ่นดินไหวที่ อ.ถลาง 3 ครั้ง วัดความสั่นสะเทือนสูงสุดของวันได้ที่ 2.2 ริกเตอร์
[19 เมษายน] สำนักธรณีฯ โต้ข่าวลือภูเก็ตจม ยันเป็นไปไม่ได้
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
สำนัก ธรณีวิทยา ยัน เป็นไปไม่ได้ที่เกาะภูเก็ตจะจม เพราะเป็นเกาะหินแกรนิต คลื่นแผ่นดินไหวเคลื่อนตัวเร็ว อัตราการทำลายล้างต่ำ ระบุโอกาสเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ในไทยมีน้อย
จากกรณีที่มีข่าวลือแพร่สะพัดไปทั่วจังหวัดภูเก็ตว่า ในวันที่ 28 เมษายนนี้ เกาะภูเก็ตจะจมลงทะเลอันดามันทั้งเกาะ ก็ได้ส่งผลกระทบ และสร้างความตื่นตระหนกให้ชาวภูเก็ตเป็นจำนวนมาก ซึ่งก็ทำให้นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ออกมาชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนไม่ให้เชื่อข่าวลือ พร้อมกับขอให้รับฟังข่าวสารจากทางการ ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น
ล่าสุด วันที่ 19 เมษายน นายเลิศสิน รักษาสกุลวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม และธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี (ทธ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้ออกมายืนยันอีกเสียงว่า เป็นไปไม่ได้ ที่เกาะภูเก็ตจะจม หรือหักทั้งเกาะตามที่มีข่าวลือออกมา เนื่องจากเกาะภูเก็ตมีสภาพเป็นหินแกรนิต ซึ่งเกิดจากแมกมาใต้โลก และมีฐานกว้างมากเหมือนกับเขาตะปู จังหวัดพังงา โดยคุณสมบัติของหินแกรนิตนี้ เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้น คลื่นแผ่นดินไหวจะเคลื่อนที่เร็ว ทำให้มีอัตราการทำลายล้างต่ำ ต่างจากพื้นที่ที่เป็นดินอ่อน หากเกิดแผ่นดินไหว คลื่นแผ่นดินไหวจะเคลื่อนที่ช้า ทำให้อัตราการทำลายล้างเพิ่มมากขึ้น
สำหรับ เหตุการณ์แผ่นดินไหว 4.3 ริกเตอร์ ที่อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต นั้น นายเลิศสิน ระบุว่า จากการศึกษาพบว่า หลังจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ จะเกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีกประมาณ 10 วัน แต่จะเป็นอาฟเตอร์ช็อกที่ประชาชนรู้สึกถึงการสั่นไหวได้ 1 ครั้ง และก็เป็นอาฟเตอร์ช็อกที่รู้สึกไม่ได้ แต่เครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหวจับได้ตามมาอีก 3 ครั้ง สลับกันไป
นาย เลิศสิน ยังกล่าวด้วยว่า รอยต่อของแผ่นเปลือกโลกแต่ละแผ่นเป็นสาเหตุให้เกิดแผ่นดินไหว สำหรับประเทศไทย ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ไกลจากรอยต่อของแผ่นเปลือกทวีป ซึ่งโอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในประเทศไทยจนถึงขนาดตึกพังนั้นมีน้อย มาก แต่อย่างไรก็ตาม ทุกคนต้องเรียนรู้ร่วมกันว่าควรจะปฏิบัติตัวอย่างไร เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้น
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
[18 เมษายน] รองผู้ว่าฯ ภูเก็ต โต้ ข่าวลือแผ่นดินไหวทำเกาะจม 28 เม.ย.
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
เผย เหตุแผ่นดินไหวภูเก็ตเมื่อวันที่ 16 เมษายน เกิดอาฟเตอร์ช็อกขนาดเล็กขึ้นอีกกว่า 40 ครั้ง แต่ไม่ได้รับผลกระทบ ด้านรองผู้ว่าฯ ภูเก็ต โต้ข่าวลือภูเก็ตจมทั้งเกาะวันที่ 28 เมษายนนี้ ย้ำขอให้ฟังข่าวจากทางการ
เมื่อเวลา 22.48 น. วันที่ 17 เมษายน สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานตรวจพบแผ่นดินไหว เมื่อเวลา 21.56 น. ขนาด 2.0 ริกเตอร์ ที่จุดศูนย์กลาง อ.ถลาง รับรู้แรงสั่นไหวได้ ขณะที่เวลา 00.49 น. วันที่ 18 เมษายน สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว ยังคงมีการรายงานว่า ตรวจพบแผ่นดินไหว ขนาด 2.6 ริกเตอร์ ที่จุดศูนย์กลาง อ.ถลาง รับรู้แรงสั่นไหวได้เช่นกัน
จากนั้น เวลา 04.15 น. เกิดอาฟเตอร์ช็อกที่ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต เวลา 04.15 น. ขนาด 3.2 ริกเตอร์ รู้สึกสั่นไหวในหลายพื้นของ จ.ภูเก็ต จุดศูนย์กลางอยู่ใกล้พื้นดินประมาณ 10 กิโลเมตร
ขณะที่ในวันนี้ (18 เมษายน) สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา แจ้งว่า จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว จ.ภูเก็ต 4.3 ริกเตอร์ เมื่อวันที่ 16 เมษายนที่ผ่านมานั้น ได้เกิดอาฟเตอร์ช็อกขนาดมากกว่า 2 ริกเตอร์ (ถึงเวลา 11.30 น.วันที่ 18 เมษายน 2555) ขึ้นจำนวน 12 ครั้ง ซึ่งสามารถรับรู้แรงสั่นไหวได้ในบริเวณ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต และยังมีอาฟเตอร์ช็อก ขนาดต่ำกว่า 2 ริกเตอร์ อีกประมาณ 40 ครั้ง ซึ่งไม่มีผลกระทบใด ๆ
ด้านนายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ได้เดินทางลงพื้นที่ ต.ศรีสุนทร อ.ถลาง ร่วมกับ นายวรวุฒิ ทรงยศ นายกเทศมนตรีตำบลศรีสุนทร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ ผ่านมาแล้ว โดยเฉพาะการซ่อมแซมบ้านเรือนที่แตกร้าวเป็นการเร่งด่วน พร้อมทั้งเป็นกำลังใจ และสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน ในการเข้าไปช่วยเหลือ หากเกิดเหตุซ้ำขึ้นอีก
ขณะ เดียวกัน รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ยังกล่าวถึงกระแสข่าวที่เกิดขึ้นในโซเชียลมีเดีย ว่า เกาะภูเก็ตจะจมหายไปจากเหตุการณ์ภัยธรรมชาติ ในวันที่ 28 เมษายน 2555 ว่า ขอ ให้ประชาชนมีสติ ในการตรวจสอบว่า ข้อมูลที่มีการนำเสนอนั้นมาจากที่ใด โดยจะต้องพิจารณาอย่างมีเหตุ มีผล ซึ่งในส่วนของหน่วยงานราชการ ก็พยายามชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชน โดยใช้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มาประกอบ รวมทั้งขอให้ประชาชนติดตามข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานราชการเป็นหลัก เพื่อประชาชนจะได้ไม่ตื่นตระหนก สามารถเผชิญเหตุได้อย่างมีสติ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
[17 เมษายน] จับตารอยเลื่อนคลองมะรุ่ย-ระนอง สาเหตุแผ่นดินไหวภูเก็ต
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก กรมอุตุนิยมวิทยา
กรม ทรัพยากรธรณีสั่งจับตา รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย - รอยเลื่อนระนอง เพราะเป็นรอยเลื่อนที่มีพลัง หวั่นทำให้เกิดแผ่นดินไหวอีก ขณะที่แผ่นดินไหว 4.3 ริกเตอร์ ที่ภูเก็ต แรงสุดเท่าที่เคยมีมา
วันนี้ (17 เมษายน) นายนิทัศน์ ภู่วัฒนกุล อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี และนายเลิศสิน รักษาสกุลวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี ร่วมกันแถลงถึงเหตุการณ์แผ่นดินไหว 4.3 ริกเตอร์ ที่ จ.ภูเก็ต
นายนิทัศน์ กล่าวว่า การเกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้ มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ จ.ภูเก็ต ถือว่าเป็นแผ่นดินไหวบนบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของไทย นอกจากนี้ ยังเกิดอาฟเตอร์ช็อกอีก 5 ครั้ง ขนาด 2.1 ริกเตอร์ - 2.7 ริกเตอร์ ทำให้บ้านประชาชนกว่า 30 หลัง ได้รับความเสียหาย โดยสาเหตุของแผ่นดินไหวเกิดจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานี กระบี่ พังงา
ส่วนแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นที่อินโดนีเซีย ขนาด 5.7 ริกเตอร์ ที่เกิดในเวลาไล่เลี่ยกันกับไทย ไม่ใช่สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวที่ภูเก็ต และไม่ได้เป็นอาฟเตอร์ช็อก เพราะแผ่นดินไหวจากอินโดนีเซีย ไม่สามารถทำให้ภูเก็ตรู้สึกได้ทั้งจังหวัด อีกทั้งถือว่าประเทศไทยโชคดีที่เป็นแผ่นดินไหวแนวนอน ผลกระทบจึงไม่มาก
ขณะที่ นายเลิศสิน กล่าวว่า ขณะ นี้ทางกรมทรัพยากรธรณี ต้องระวังรอยเลื่อนคลองมะรุ่ยที่มีความยาวกว่า 150 กิโลเมตร และรอยเลื่อนระนอง ยาว 270 กิโลเมตร ตั้งแต่ จ.ระนอง ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ และพังงา เนื่องจากมีการขยับตัวที่ชัดเจน และมีพลัง ทำให้มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวได้ แต่ขนาดจะไม่รุนแรงมากไปกว่า 6 ริกเตอร์
อย่างไรก็ตาม นายนิทัศน์ กล่าวว่า วิธีการในกหนีเอาตัวรอดจากอาคารสูงหากเกิดแผ่นดินไหว คือ ไม่ควรลงจากอาคารโดยใช้ เพราะไฟฟ้าอาจถูกตัดได้ พร้อมแนะว่า รัฐบาลต้องออกประกาศให้อาคารสูงมีบันไดหนีไฟ รวมถึงแผ่นดินไหวด้วย
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก กรมอุตุนิยมวิทยา
กรม ทรัพยากรธรณีสั่งจับตา รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย - รอยเลื่อนระนอง เพราะเป็นรอยเลื่อนที่มีพลัง หวั่นทำให้เกิดแผ่นดินไหวอีก ขณะที่แผ่นดินไหว 4.3 ริกเตอร์ ที่ภูเก็ต แรงสุดเท่าที่เคยมีมา
วันนี้ (17 เมษายน) นายนิทัศน์ ภู่วัฒนกุล อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี และนายเลิศสิน รักษาสกุลวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี ร่วมกันแถลงถึงเหตุการณ์แผ่นดินไหว 4.3 ริกเตอร์ ที่ จ.ภูเก็ต
นายนิทัศน์ กล่าวว่า การเกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้ มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ จ.ภูเก็ต ถือว่าเป็นแผ่นดินไหวบนบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของไทย นอกจากนี้ ยังเกิดอาฟเตอร์ช็อกอีก 5 ครั้ง ขนาด 2.1 ริกเตอร์ - 2.7 ริกเตอร์ ทำให้บ้านประชาชนกว่า 30 หลัง ได้รับความเสียหาย โดยสาเหตุของแผ่นดินไหวเกิดจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานี กระบี่ พังงา
ส่วนแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นที่อินโดนีเซีย ขนาด 5.7 ริกเตอร์ ที่เกิดในเวลาไล่เลี่ยกันกับไทย ไม่ใช่สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวที่ภูเก็ต และไม่ได้เป็นอาฟเตอร์ช็อก เพราะแผ่นดินไหวจากอินโดนีเซีย ไม่สามารถทำให้ภูเก็ตรู้สึกได้ทั้งจังหวัด อีกทั้งถือว่าประเทศไทยโชคดีที่เป็นแผ่นดินไหวแนวนอน ผลกระทบจึงไม่มาก
ขณะที่ นายเลิศสิน กล่าวว่า ขณะ นี้ทางกรมทรัพยากรธรณี ต้องระวังรอยเลื่อนคลองมะรุ่ยที่มีความยาวกว่า 150 กิโลเมตร และรอยเลื่อนระนอง ยาว 270 กิโลเมตร ตั้งแต่ จ.ระนอง ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ และพังงา เนื่องจากมีการขยับตัวที่ชัดเจน และมีพลัง ทำให้มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวได้ แต่ขนาดจะไม่รุนแรงมากไปกว่า 6 ริกเตอร์
อย่างไรก็ตาม นายนิทัศน์ กล่าวว่า วิธีการในกหนีเอาตัวรอดจากอาคารสูงหากเกิดแผ่นดินไหว คือ ไม่ควรลงจากอาคารโดยใช้ เพราะไฟฟ้าอาจถูกตัดได้ พร้อมแนะว่า รัฐบาลต้องออกประกาศให้อาคารสูงมีบันไดหนีไฟ รวมถึงแผ่นดินไหวด้วย
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
แผ่นดินไหวภูเก็ตอีกรอบ 3.1 ริกเตอร์
สถิติการเกิดแผ่นดินไหวภูเก็ต และพื้นที่ใกล้เคียง ในรอบ 2 วัน (16-17 เม.ย.) คลิกที่รูปเพื่อดูภาพขนาดใหญ่
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก กรมอุตุนิยมวิทยา, ครอบครัวข่าว 3
เกิดเหตุแผ่นดินไหวภูเก็ตซ้ำอีกครั้งวันนี้ เวลา 12.18 น. จุดเดิมที่ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต กสทช.พร้อมอำนวยความสะดวกให้ประชาชนแจ้งเหตุผ่าน สายด่วน 1200
หลัง จากที่วันนี้ (17 เม.ย.) เกิดเหตุแผ่นดินไหวในทะเล 5.2 ริกเตอร์ มีความลึก 10 กิโลเมตร บริเวณตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ซึ่งห่างจากเกาะภูเก็ตประมาณ 492 กิโลเมตร นั้น ต่อมาในเวลา 12.18 น. มีรายงานข่าว เกิดแผ่นดินไหวที่ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต เป็นแผ่นดินไหวบนบก วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 3.1 ริกเตอร์ ซึ่งยังไม่พบรายงานความเสียหายแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม ทางสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้มีการเตรียมความพร้อมในเรื่องการสื่อสารทั้งในเรื่องระบบโทรคมนาคม และแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ผ่านระบบ sms อีกทั้งยังได้มีการขอความร่วมมือไปยังสมาคมวิทยุสมัครเล่น สถานีวิทยุกระจายเสียง และสถานีวิทยุโทรทัศน์ เพื่อเตรียมพร้อมในการแจ้งเตือนภัยแล้ว
ทั้งนี้ หากประชาชนต้องการแจ้งข่าวสารเหตุการณ์แผ่นดินไหว สามารถแจ้งได้ที่สายด่วน 1200 ของสำนักงาน กสทช. และเครือข่ายนักวิทยุสมัครเล่น ศูนย์สายลม ทั้งนี้ได้ประสานงานเตรียมความพร้อมช่วยเหลือตลอดเวลา
ย้อนรอยแผ่นดินไหวภูเก็ต หลัง 4.3 ริกเตอร์ ทำโกลาหลทั้งเมือง
สภาพบ้านเรือนประชาชนเกิดรอยร้าว หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว
สภาพบ้านเรือนประชาชนเกิดรอยร้าว หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว
สภาพบ้านเรือนประชาชนเกิดรอยร้าว หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว
ทำเอาคนภูเก็ตหวาดผวาอีกครั้ง! หลังจากที่เมื่อเวลา 16.44 น. ของวานนี้ (16 เมษายน) เกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 4.3 ริกเตอร์ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ ต.ศรีสุนทร อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ส่งผลให้บ้านเรือน และอาคารต่าง ๆ รับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนทั่วทั้งจังหวัด
ถึงแม้ว่าแผ่นดินไหวที่ภูเก็ตในครั้งนี้ จะไม่มีรายงานความเสียหาย หรือมีการแจ้งเตือนจากทางจังหวัดแต่อย่างใด แต่ประชาชนชาวภูเก็ตก็หวั่นผวา ต่างพากันหนีออกจากที่พักกันอย่างจ้าละหวั่น จนเกิดปัญหาอย่างมากมาย โดยเฉพาะปัญหาเรื่องการจราจร ที่ตึดหนึบเป็นทางยาวเป็นอัมพาตตลอดช่วงเย็นที่ผ่านมา
หลังจากที่แน่ใจว่า แผ่นดินไหวภูเก็ตในครั้งนี้ จะไม่ทำให้เกิดสึนามิ ทางเจ้าหน้าที่ก็ได้ทำการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน และนักท่องเที่ยว อย่าแตกตื่น เนื่องจากเหตุการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว และขอให้ติดตามข้อมูลข่าวสารทางราชการอย่างใกล้ชิด
แต่ทั้งนี้ เป็นที่รู้ดีกันอยู่แล้วว่า ถ้าเกิดเหตุแผ่นดินไหวจะต้องเกิดเหตุการณ์อาฟเตอร์ช็อกตามมา หลังจากที่เจ้าหน้าที่ประกาศเหตุการณ์ปกติแล้ว แต่ประชาชนก็ไม่สามารถนิ่งนอนใจได้ พยายามอพยพครอบครัวขึ้นที่สูง เพราะเกรงว่าจะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม เมื่อคืนที่ผ่านมาก็ได้เกิดเหตุการณ์อาฟเตอร์ช็อก จำนวน 3 ครั้ง ซึ่งประชาชน ที่ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต รับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือน โดยครั้งแรกเกิดเมื่อเวลา เวลา 20.30 น. ขนาด 2.7 ริกเตอร์ ต่อมา เวลา 21.17 น. เกิดอาฟเตอร์ช็อกขนาด 2.6 ริกเตอร์ และเวลา 23.03 น. เกิดอาฟเตอร์ช็อก ขนาด 2.7 ริกเตอร์
เมื่อย้อนรอยถึงเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ชาวภูเก็ตได้รับผลกระทบถึงแรงสั่น สะเทือนตั้งแต่อดีตนั้น เป็นเพราะว่า จ.ภูเก็ต อยู่ในพื้นที่ ที่มีรอยเลื่อนคลองมะรุย ตัดผ่านด้านตะวันออกของเกาะภูเก็ต เข้าไปในอ่าวพังงา ตามแนวคลองมะรุย คลองชะอุน และคลองพุมดวง ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จนกระทั่งไปออกอ่าวบ้านดอน ระหว่างอำเภอพุนพินกับอำเภอท่าฉาง รวมความยาวทั้งสิ้นประมาณ 150 กิโลเมตร
ส่วนรายงานแผ่นดินไหวที่ จ.ภูเก็ต รู้สึกสั่นสะเทือนได้ ตั้งแต่อดีตที่ผ่านมา มีดังนี้...
17 สิงหาคม 2542 บริเวณทะเลอันดามันขนาด 2.1 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่ จ.ภูเก็ต และ จ.พังงา
29 สิงหาคม 2542 บริเวณทะเลอันดามันขนาด 2.1 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่ จ.ภูเก็ต และ จ.พังงา
28 ธันวาคม 2550 ที่ตอนเหนือของสุมาตรา ขนาด 5.7 ริคเตอร์ รู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนได้บนอาคารสูง จ.ภูเก็ต จ.พังงา
20 กุมภาพันธ์ 2551 เกิดที่ตอนเหนือของสุมาตรา ขนาด 7.5 ริคเตอร์ รู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนได้บนอาคารสูงในกรุงเทพฯและ จ.ภูเก็ต อาจเกิดสึนามิขนาดเล็กบริเวณใกล้ศูนย์กลาง
9 พฤษภาคม 2553 บริเวณชายฝั่งตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ขนาด 7.3 ริคเตอร์ รู้สึกสั่นไหวได้บนอาคารสูงบางแห่งใน จ.ภูเก็ต จ.พังงา จ.สุราษฎร์ธานี จ.สงขลา และกรุงเทพฯ
11 เมษายน 2555 แผ่นดินไหว 8.7 ริกเตอร์ ที่อินโดนีเซีย
16 เมษายน 2555 เกิดที่ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ขนาด 4.3 ริกเตอร์ บ้านเรือนประชาชน รู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนทั่วจังหวัด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
, กรมอุตุนิยมวิทยา
[16 เมษายน] ยืนยัน! แผ่นดินไหวภูเก็ต 4.3 ริกเตอร์ สั่นทั้งเกาะ
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก กรมอุตุนิยมวิทยา
ผวา ทั้งเมือง แผ่นดินไหวภูเก็ต 4.3 ริกเตอร์ ศูนย์กลางอำเภอถลาง ยันไม่เกี่ยวกับแผ่นดินไหวเกาะสุมาตรา 5.3 ริกเตอร์ เพียงแค่เวลาใกล้กัน 2 นาที
วันนี้ (16 เมษายน) เวลา 16.44 น. มีรายงานข่าวแจ้งว่า เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.3 ริกเตอร์ ศูนย์กลางอยู่ใน ต.ศรีสุนทร อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ประชาชนทั่วทั้งจังหวัดรับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือน ต่างพากันออกจากอาคารบ้านเรือน ส่งผลให้การจราจรบางจุดติดขัด อย่างไรก็ตาม ไม่มีรายงานความเสียหายและการแจ้งเตือนจากทางการ
ทั้งนี้ ในช่วงแรกที่มีการรายงานข่าว เกิดความสับสนระหว่างเหตุแผ่นดินไหวที่เกาะสุมาตรา เนื่องจากเหตุการณ์เกิดในเวลาไล่เลี่ยกัน กล่าวคือ ในเวลา 16.46 น. เกิดแผ่นดินไหว 5.3 ริกเตอร์ บริเวณชายฝั่งตะวันตก ทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ศูนย์กลางอยู่ห่างจากชายฝั่งเมืองบันดาห์ อาเจะห์ ประมาณ 614 กิโลเมตร และอยู่ลึกลงไปใต้พื้นดิน 2 กิโลเมตร ซึ่งอยู่ใกล้กับจุดเดิมที่เคยเกิดแผ่นดินไหว และอาฟเตอร์ช็อกเมื่อวันที่ 11 เมษายน ที่ผ่านมา ทำให้เกิดความเข้าใจกันว่า แผ่นดินไหวภูเก็ต ได้รับแรงสั่นสะเทือนมาจากเกาะสุมาตรา
ต่อ มา มีการยืนยันจากสำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า แผ่นดินไหวภูเก็ต ไม่เกี่ยวกับแผ่นดินไหวเกาะสุมาตรา โดยมีศูนย์กลางที่ อ.ถลาง ประชาชนรับรู้แรงสั่นสะเทือนได้อย่างชัดเจน และมีเสียงดังจากใต้ดินด้วย ซึ่งนับว่าเป็นแผ่นดินไหวภูเก็ตครั้งแรก ๆ ที่วัดแรงสั่นสะเทือนได้ในระดับสูงกว่าที่เคยเป็นมา และยังมีอาฟเตอร์ช็อกตามมาในเวลา 20.30 น. ขนาด 2.7 ริกเตอร์ และเวลา 21.17 น. ขนาด 2.6 ริกเตอร์ ซึ่งทั้งสองครั้งสามารถรับรู้แรงสั่นสะเทือนได้
ความคิดเห็น