การลดราคาน้ำมัน
เบนซิน91 ลดลงประมาณ 7 บาท
ดีเซล ลดลงประมาณ 3 บาท
จากการเว้นการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน
(Unit : Baht/Litre "NGV" Unit : Baht/Kg) | |||||||||||||||||||||
|
18 AUG 2011 05:00 | 41.94 | 34.54 | 37.04 | 21.92 | 33.04 | 29.99 | 8.5 |
27 AUG 2011 00:01 | 34.77 | 34.54 | 37.04 | 21.92 | 33.04 | 26.99 | 8.5 |
สถิติการใช้น้ำมัน ปริมาณ/พันลิตร ราคา/ลิตร ก่อนปรับ ราคา/ลิตร หลังปรับ (27สค54)
ปี 53
แก๊สโซฮอร์ 91 1,551,708 34.54 34.54
แก๊สโซฮอร์ 95 2,669,751 37.04 37.04
เบนซิน 91 2,957,374 41.94 34.77
เบนซิน 95 76,568 37.04 37.04
ดีเซล 335,677 29.99 26.99
ดรเซลบี5 6,989,944 29.99 26.99
มาตรการระยะสั้น 6-12 เดือน ในการเว้นการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน จะส่งผลกระทบอะไรบ้าง
ในเบื้องต้นข้อมูล ปริมาณการใช้น้ำมัน ที่ได้รับการปรับลดราคา เป็นชนิดน้ำมันที่มีการใช้สูง ทั้ง เบนซิน 91 และ ดีเซล
จากปริมาณการใช้น้ำมันที่ลดราคา เมื่อเฉลี่ยจากการใช้แล้วควรปรับลดดีเซลลง 6 บาท โดยคงราคาเบนซิน 91 ไว้ที่ราคาเดิม
เพราะ ดีเซล ทำให้โครงสร้างราคาต่างๆลดลงได้อย่างชัดเจน
เพราะ เบนซิน 91 ผู้ใช้มีความสามารถในการจ่ายอยู่แล้ว
การลดดีเซลอย่างเดียวลง มากกว่านี้ จะมีผลต่อราคาสินค้าลดลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการต้องลดเงินชดเชยเข้ากองทุนน้ำมัน
สถานะกองทุนน้ำมันเป็นอย่างไร
ประมาณการฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง | |||
(ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2554) | |||
เงินสดในบัญชี | 14,369 | ล้านบาท | |
- เงินฝาก ธ.ออมสิน (สลากออมสิน (อายุ 5 ปี) ตามมติ กบง.) | 5,000 | ล้านบาท | |
- เงินฝาก ธ.ก.ส. (โครงการส่งเสริมการปลูกปาล์ม (อายุ 10 ปี)) | 500 | ล้านบาท | |
- เงินคงเหลือในบัญชี | 8,869 | ล้านบาท | |
หนี้สินกองทุน | -13,928 | ล้านบาท | |
- หนี้อยู่ระหว่างการเบิกจ่ายชดเชย | -13,740 | ล้านบาท | |
+ หนี้เงินชดเชยก๊าซ LPG (ค่าขนส่งก๊าซในประเทศ) | -204 | ล้านบาท | |
+ หนี้เงินชดเชยก๊าซ LPG กรณีนำเข้าจากต่างประเทศ ปี 2554 (ชดเชยช่วง ม.ค.- 15 ส.ค. 54) | -4,936 | ล้านบาท | |
+ หนี้เงินชดเชยการตรึงราคาก๊าซ NGV (มติ กบง.2/53 ชดเชยช่วง มี.ค. - ส.ค. 53 ) * | -381 | ล้านบาท | |
+ หนี้เงินชดเชยการตรึงราคาก๊าซ NGV (มติ กบง.4/53 ชดเชยช่วง ก.ย. 53 - ก.พ. 54) ** | -2,069 | ล้านบาท | |
+ หนี้เงินชดเชยการตรึงราคาก๊าซ NGV (มติ กบง.8/54 ชดเชยช่วง มี.ค. 54 - มิ.ย. 54) ** | -1,580 | ล้านบาท | |
+ หนี้เงินชดเชยการตรึงราคาก๊าซ NGV (มติ กพช.3/54 ชดเชยช่วง ก.ค. 54 - ก.ย. 54) *** | -582 | ล้านบาท | |
+ หนี้เงินชดเชยน้ำมันดีเซลและแก๊สโซฮอล์ | -1,367 | ล้านบาท | |
+ หนี้เงินชดเชยการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงมาตรฐานยูโร 4 | -468 | ล้านบาท | |
+ หนี้เงินชดเชยก๊าซ LPG จากโรงกลั่นน้ำมัน (มติ กบง.2/54 เริ่มชดเชย 14 ม.ค.54) | -1,859 | ล้านบาท | |
+ หนี้เงินชดเชยส่วนลดราคาก๊าซธรรมชาติโรงไฟฟ้าขนอม | -294 | ล้านบาท | |
- งบบริหารและโครงการซึ่งได้อนุมัติแล้ว | -188 | ล้านบาท | |
ฐานะกองทุนฯ | 441 | ล้านบาท | |
หมายเหตุ | ยังไม่รวมหนี้เงินชดเชยค่าปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์รถแท๊กซี่ (มติ กพช. 4/52) ประมาณ 130 ล้านบาท | ||
* | ชดเชยไม่เกิน 300 ล้านบาทต่อเดือน | ||
** | ชดเชยตามปริมาณของกรมธุรกิจพลังงาน โดยชดเชยกิโลกรัมละ 2 บาท | ||
*** | ชดเชยตามปริมาณการประมาณการของ สนพ. (1 ก.ค. - 15 ส.ค 2554) โดยชดเชยกิโลกรัมละ 2 บาท |
สถานะกองทุนน้ำมัน มีเงินเหลืออยู่ 441 ล้านบาท
ก็หวังให้มาตรการนี้เป็นมาตรการที่ ถูกเวลา นั่นหมายถึง ราคาน้ำมันโลกมีแนวโน้มจะลดลงอย่างต่อเนื่องไปอีกไม่น้อยกว่า 1 ปีของมาตราการลดเงินเข้ากองทุน ของรัฐบาล ปู 1 ซึ่งก็มีแนวโน้มเป็นไปได้ เมื่อ ลิเบีย มีความเป็นไปได้จะกลับมาส่งออกน้ำมันได้อีกครั้งหลัง กัดดาฟี่ ต้องพ่ายแพ้ต่อฝ่ายต่อต้านจากแรงหนุนของนาโต้
เมื่อเป็นเช่นคาดหวัง สถานะกองทุนจะเป็นบวก เพื่อรักษาความสามารถในการใช้เป็นเครื่องมือ รับมือสถาณการราคาน้ำมันผันผวนที่อาจจเกิดขึ้น
แต่หากไม่เป็นไปการคาดการณ์ รัฐบาล ได้คิดแนวทางแก้ไขไว้อย่างไร?
เบนซิน 91 ได้ลดราคา ผู้ใช้คือฐาน ที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับระบบเศรษฐกิจมากนัก
ในขณะที่ ดีเซล คือต้นทุนของราคาสินค้ามีที่ความสำคัญ เมื่อรัฐเลือกจะใช้เครื่องมือ การลดราคาน้ำมัน ผลจะเกิดเต็มที่ เมื่อทุ่มไปที่ ราคา ดีเซลอย่างเดียว
และจะมีผลอย่างมากยิ่งขึ้น หาก กำหนด มาจิ้น ของ ปตท ลดลง ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำยากแล้ว เมื่อ ปตท ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ ที่ต้องทำตามนโยบายรัฐอีกต่อไป
การลดมาจิ้น ของ ปตท ขึ้นอยู่กับ ปตท จะเข้าใจ ความสำคัญ ของการเป็นผู้ค้า ผลิตน้ำมันรายใหญ่ ที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งระบบ นั่นเป็นหน้าที่ ที่ต้องคำนึงถึงขององค์กรใหญ่
ผมค่อนข้างผิดหวัง ที่ รัฐบาลคุณทักษิณ ไม่ใช่การเพิ่มประสิทธิภาพ ปตท โดยใส่การบริหาร ในโครงสร้างรัฐวิสาหกิจ ปตท
แทนการ แปรรูปเป็น บริษัท มหาชน
ซึ่งผลในการ ปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการ ในขณะที่ ปตท ยังเป็นรัฐวิสาหกิจ ปตท จะเป็นเครื่องมือรัฐที่ทรงประสิทธิภาพ ตอบ สนอง การบริการประชาชนไทยได้เป็นอย่างดี
มาตราการลดราคาน้ำมัน มองโดยรวมแล้ว ส่วนรวมมีความเสี่ยงมากขึ้น ส่วนตัวได้ประโยชน์ ท่านพึงพอใจหรือไม่อย่างไร! ท่านต้องคิดใน 2 มิติ คือ มิติที่มีต่อท่านเอง และมิติที่กระทบโดยรวมซึ่งจะกระทบมาถึงท่านอีกทอดคำรบหนึ่ง
......................
เกริ่น มาตราการขึ้นค่าแรง ขั้นต่ำ และ ประกันค่าจ้าง ปริญญาตรี ทำได้ แต่หากทำไม่ถูก สิ่งที่ทำก็เป็นปัญหาได้อย่างที่วิตกกังวลกัน หากทำถูกต้อง ปัญหาไม่มี แล้วทำอย่างไร!
มี 2 ข้อ
กรมพัฒนาธุรกิจ ต้องปรับเปลี่ยนวิธิตรวจสอบ งบการเงินใหม่หมด เพื่อให้ได้งบการเงินจากผู้ประกอบการที่ตรงกับความเป็นจริง
กรมสรรพากร ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานใหม่ เพื่อควบคุมการจัดเก็บภาษี ทั่วถึงเป็นเป็นธรรม
แถม
ปรับประสิทธิภาพและการใช้กำลังของของภาคราชการ ให้มีประสิทธิภาพเทียบเท่าเอกชน ปฏิรูปราชการกันอย่างมีเป้าหมายและการประเมินผลให้ชัดเจน รัฐทำทุกเรื่องได้อย่างดี หากได้ผู้บริหารที่ มีคุณสามบัติพร้อมที่จะทำงาน เพื่อส่วนรวม ต้องหาต้องสร้างให้ได้
หากทำ 2 ข้อนี้ได้ และส่วนแถม ได้ด้วยแล้ว ค่าแรงขั้นต่ำ ค่างานของ มนุษย์เงินเดือน คงไม่มีสภาพเป็นทาสแรงงานเช่นทุกวันนี้
ความคิดเห็น